เชฟชุมชน by ชุมชนพระบาทห้วยต้ม

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

เชฟชุมชน by ชุมชนพระบาทห้วยต้ม

อาหารของชุมชนพระบาทห้วยต้ม เป็นภูมิปัญญาด้านอาหารที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น อาหารส่วนใหญ่จะมีรสเผ็ดนำ อาจจะด้วยเพราะป่าคือบ้านของปกาเกอะญอ จึงขาดไม่ได้ที่จะมีวัตถุดิบหลักที่แฝงสรรพคุณรักษาสุขภาพของคนลงไปในเมนูนั้น ๆ สมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนผสมที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตในการอยู่ การกินของผู้คนในชุมชน หลายเมนูเกิดจากเหตุผลของความขาดแคลน แต่เมื่อรังสรรค์ขึ้นมาแล้ว กลับลงตัวและยังคงรักษาเอกลักษณ์ปกาเกอะญอไว้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถเปิดประสบการณ์ลิ้มรสชาติอาหารเฉพาะถิ่นหรือที่ชุมชนพระบาทห้วยต้มเรียกว่า สะหลุพาบะโฆ๊ะ(มังสวีรัติ) ของที่นี่ผ่านเมนูหลักดังนี้

1. ต๊ะกะเปาะ (ข้าวเบ๊อะ) มีที่มาจากในอดีตปกาเกอะญอ ไม่มีที่ดินทำกิน มีลูกหลานเยอะแต่ข้าวมีน้อยจึงคิดว่าจะทำยังไงให้พอกินทั้งปี จึงนำข้าวมาต้มกับหน่อไม้ และผักตามฤดูกาล เมื่อต้มจนข้าวแตกตัวเต็มหม้อสามารถกินได้ทั้งครอบครัว ปัจจุบันถือเป็นอาหารหลักของชาวปกาเกอะญอ

2. มุและซู (น้ำพริกดำ) เป็นอาหารที่ทำง่าย เกิดจากหน้าฝนฟืนจะเปียกจุดไฟได้ยาก จึงทำอาหารเร่งด่วนและสามารถอยู่ได้นาน โดยใช้พริกคั่วให้เป็นสีดำโดยใช้ไฟอ่อน ตำกับเกลือใส่สมุนไพรเพื่อป้องกันโรคหวัดเข้าไปด้วย เช่นใบโกโบระ ผักอิเหลิง และในอาหารทุกมื้อต้องมีมุและซูอยู่ในสำรับอีกด้วย

3. ต๊ะจือที (แกงเย็น) นิยมมากในหน้าร้อน เหมาะสำหรับคนป่วย โดยจะใช้ใบโกโบระ ผักอิเหลิง เห็ด เกลือ ต้นหอม มีรสเปรี้ยวนำเพราะใช้มะกอก มะขาม หรือผลไม้รสเปรี้ยว ทำให้ทานแล้วจะรู้สึกเจริญอาหาร ในอดีตชาวปกาเกอะญอจะใช้ ต๊ะจือที (แกงเย็น) ในการดับร้อนแทนน้ำแข็ง ช่วยให้สดชื่น

4. ต๊ะพอที (น้ำต้มผัก) จะใช้ผักที่เหี่ยวใกล้ทิ้งแล้วนำมาต้มกับเกลือ คล้ายต้มจืดในภาคกลาง ส่วนใหญ่จะทำให้เด็กทาน

เมนูประเภทขนม

1. ขนมเม่โต๊ะปิ ทำจากข้าวเหนียว งาขี้ม่อน และเกลือ โดยนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุก ไปตำกับครกกระเดืองแล้วใส่งาขี้ม่อน และเกลือ ตำจนเหนียว รสชาติจะมีความหวานจากข้าวเหนียว ความมันจากงา จากนั้นนำมาตากบนกะดง ตัดเป็นชิ้น ๆ ถ้านำมาตากแห้งจะเก็บไว้ได้หลายเดือน เวลาจะทานมาปิ้งไฟอีกครั้งหนึ่ง

2. ขนมเมต่อ จะใช้ในทางพระพุทธศาสนา ไม่มีความหวาน โดยกรอกข้าวเหนียวลงในใบก๋ง แล้วแช่ไว้ 1 คืนแล้วนำไปต้ม เมื่อเสร็จนำมาจิ้มกับ เกลือ งาดำ และน้ำตาลเพื่อรับประทาน

3. โก๊ะยูที (บัวลอยน้ำอ้อย) เป็นการนำแป้งข้าวเหนียวตำกับครกกระเดืองโดยเป็นการตำคนเดียว เนื้อของบัวลอยจะไม่ละเอียด จะใช้เนื้อมะพร้าวที่แก่จัดขูดใส่ทีหลัง แล้วจะใช้น้ำอ้อยสดผสมน้ำผึ้งป่า นิยมใช้ในงานมงคล โดยแป้งข้าวเหนียวกลมจะสื่อถึงชีวิตคนเราที่มีเพื่อนรวมมิตร มะพร้าวสื่อถึงความบริสุทธิ์ที่เพื่อนมาแสดงความยินดี น้ำผึ้งสื่อถึงการทำมาหากินของเราให้ขยันเหมือนผึ้ง


รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ  09:00-17:00  คุณแบระดา  เขียวขจีไพร เบอร์ติดต่อ 080-813-6128,คุณอัปสรสวรรค์ เขียวขจีไพร เบอร์ติดต่อ 064-469-6002
เบอร์โทร คุณแบระดา เขียวขจีไพร เบอร์ติดต่อ 080-813-6128
ค่าเข้าชม -
เว็บไซต์
ที่อยู่ หมู่ที่ 9 ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน