สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
เป็นกิจกรรมการทำโคมไฟแบบล้านนา ซึ่งถูกนำมาใช้ประดับ ตกแต่งอาคารบ้านเรือนเพื่อความสวยงาม และสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่เจ้าของบ้าน ซึ่งสำหรับชาวล้านนาเชื่อกันว่า การจุดโคมไฟ นำความเจริญและความสุขมาให้กับคนในครอบครัว อีกทั้งยังมีความเชื่อว่า เกิดมาชาติหน้าจะเป็นบุคคลที่มีความฉลาดเฉลียว เปรียบดั่งแสงของเปลวไฟที่ลุกโชติช่วงท่ามกลางความมืดมิด ชื่อเรียกโคมในภาคเหนือมีหลายชื่อ แต่สำหรับที่จังหวัดน่าน จะเรียกโคมลักษณะนี้ว่าโคมมะเต้า โดยคุณแม่ถิรนันท์ โดยดี อดีตคุณครูวัยเกษียณที่มีใจรักในงานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นเนื่องจากเคยสอนทำโคมซึ่งเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียนตาลชุมพิทยาคมและอยากให้เด็กๆเมืองน่านทุกคนรู้จักและทำโคมมะเต้าเป็น สำหรับโคมมะเต้า หรือโคมหม่าเต้า จัดอยู่ในประเภทโคมแขวน ในอดีตจะใช้สำหรับคนชั้นสูงโดยใช้สำหรับนำไปเป็นโคมไฟตกแต่งคุ้มเจ้านายเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหรืองานประเพณีสำคัญ
คำว่า"มะเต้า" คือชื่อเรียกแตงโม ในภาษาเหนือ เรียกตามรูปลักษณะของโคมที่กลมๆ เหมือนลูกแตงโม มีลักษณะเป็นมุมเหลี่ยมเหมือนเพชร เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวน่าน ทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเสริมสิริมงคล วัสดุส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ไม่ต้องไปหาที่อื่น โครงไม้ไผ่จากข้าวหลามหรือไผ่บงหาได้จากป่าในหมู่บ้าน กระดาษสามาจากอำเภอนาน้อย เหนียวและทนมาก ซึ่งจะแขวนไว้ตามต้นไม้ ลวดลายจะใช้กระดาษคำ หรือกระดาษสีทองมาทำเป็นลายประจำยาม ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า ลายวัชระ ซึ่งเชื่อว่าเป็นอาวุธของพระอินทร์ ใช้ขับไล่สิ่งชั่วร้ายปกป้องคุ้มครอง ส่วนตัวโคมมีลักษณะเป็นแปดเหลี่ยมมีนัยทางพุทธศาสนาคือ มรรค 8 สำหรับส่วนหางก็จะมีหลายแบบแตกต่างกันไป
นักท่องเท่ียวสามารถเรียนรู้การทำผลงานศิลปะทำมือแบบแท้จริง หรือจะเรียนรู้ประยุกต์ การตกแต่งโคมได้ตามใจชอบ พร้อมกับความ ประทับใจในการตั้งใจสอนของ คุณแม่ถิรนันท์ ที่ตั้งใจมอบคุณค่าให้แก่นักท่องเที่ยว เสมือนลูกหลาน และยินดี ต้อนรับนักท่องเที่ยวกลับมา เยือนบ้านโคมคำเสมอ