สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
ศูนย์การเรียนรู้ที่สร้างไว้เพื่อสืบสาน อนุรักษ์ และถ่ายทอดวิถีชีวิต ตลอดจนมรดกวัฒนธรรมไตลื้อและล้านนาไทย มีเรือนไตลื้อ มีครกมองและหลองข้าว นางพรรษา บัวมะลิ หรือ ครูปุก (หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “ป้าปุก”) เจ้าของศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ ที่ได้รับมรดกตกทอดเป็นบ้านและที่ดินผืนนี้มาจากบรรพชนคนไตลื้อ เพื่อให้เด็กนักเรียนและคนในชุมชน ตลอดจนผู้ที่สนใจได้มาศึกษาเรียนรู้ เพื่อการสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ โดยบริเวณศูนย์เรียนรู้ มีการสาธิตการอีดฝ้าย ปั่นฝ้าย ตีฝ้าย จากฝ้ายที่ปลูก นำไปถักทอผ้าออกมาเป็นผืน กิจกรรมที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ ของชาวไตลื้อ เช่น การต้อนรับแขกที่มาเยือน โดยการผูกข้อมือจากผู้เฒ่าผู้แก่ การขับลื้อ และมีกิจกรรมกาดมั่วที่แสดงถึงวัฒนธรรมทางด้านอาหาร เช่น โส๊ะบะก๊วยเต้ด ข้าวจี่ทาน้ำพริก ผัดไทไตลื้อ ไข่ป่าม เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมในศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ มีดังนี้
• เฮือนไตลื้อ ทำกิจกรรมการต้อนรับแขก การกิน การอยู่ การนอน
• หลองข้าว ทำเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บของเก่าที่มีค่าเพื่อนำมาจัดแสดง
• ครกมอง ทำกิจกรรมการตำข้าว การทำน้ำผัก และทำน้ำปู๋
• น้ำบ่อ ทำกิจกรรมการตักน้ำ และความเชื่อ
• กี่ทอผ้า ทำกิจกรรมการอีดฝ้าย ตีฝ้าย กิ๊กฝ้าย ปั่นฝ้าย ทอผ้า และการกล่อมลูก
• สวนหลังบ้าน ทำกิจกรรมการเข้าสวนเก็บผักมาทำอาหาร
• กาดมั่ว ทำกิจกรรมการสาธิตอาหารแบบโบราณต่าง ๆ เช่น ข้าวจี่บ่ายน้ำพริก ไข่ป่าม ขนมวง โสะบะก้วยเต้ด น้ำสมุนไพรไตลื้อ การแอนข้าวแคบ และผัดไทไตลื้อ
• ผามล้านนา ทำกิจกรรมนันทนาการด้วยการขับซอ ขับลื้อ เล่าประวัติศาสตร์คนไตลื้อ กิจกรรมคัดลอกปรุทะลุ ลายไทยใส่ถุงย่ามและแลกเปลี่ยนความรู้