สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อบ้านหย่วนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของโรงเรียนวัดหย่วนวิทยา เริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ในปี 2530 โดยการริเริ่มของพระครูสุภัทรพรหมคุณ เจ้าอาวาสวัดหย่วน ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าคณะ อ.เชียงคำ ที่มีแนวคิดอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาในด้านการทอผ้าซึ่งเป็นงานฝีมือที่โดดเด่นของชาวไทลื้อ เนื่องจากเห็นว่าการทอผ้ากำลังเริ่มหายไปจากครัวเรือน เริ่มหายไปจากชุมชน เนื่องจากว่าเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านให้มาร่วมมือกัน เริ่มจากการรวมกี่ทอผ้ามาอยู่อาคารชั่วคราวในวัดแค่ 4 กี่ก่อน มีผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความชำนาญเข้ามาช่วยทอ และร่วมกันบริหารจัดการโดยคนในชุมชน
ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากคุณ ลดาวัลล์ วงศ์ศรีวงศ์ ซึ่งเป็นลูกหลานของบ้านหย่วน เป็นผู้ประสานงานและผลักดันจนได้งบประมาณจาก ททท. มาสร้างอาคาร ในปี พ.ศ. 2536 เริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2538 ก็ได้รับข้าวของเครื่องใช้ที่มีการบริจาคมา ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงประวัติความเป็นมาของของชาวไทลื้อเชียงคำ การจำลองวิถีชีวิตเช่น ห้องนอน มีดดาบและเครื่องมือทำมาหากินในสมัยก่อน มีการจัดแสดง “ปั๊บสา” หรือตำราพื้นบ้าน และโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและศาสนาที่บริเวณชั้นสองของอาคาร แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือการจัดแสดงงานผ้าไทลื้อโบราณ เช่น ผ้าในพิธีกรรมอย่างผ้าเช็ดหลวงเป็นผ้าที่ถวายเป็นพุทธบูชา ผ้าเช็ดน้อยเป็นผ้าสำหรับรองกราบผ้าหรือใช้ตกแต่งเครื่องปัจจัยไทยทานถวายพระ จีวรพระเจ้า หรือ ผ้ามุญจณะ สำหรับถวายพระสงฆ์ในวันออกพรรษา ชุดไทลื้อจะมีหลากหลาย ตั้งแต่ชุดชนชั้นปกครองจะเสื้อมีกั๊กหรือเสื้อปา เป็นเสื้อประจำตำแหน่งของผู้ชาย การสาธิตการทอผ้า รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับงานผ้าทอไทลื้อ เช่น กิจกรรมกระบวนการทำเส้นใย การตีฝ้าย ม้วนฝ้าย ปั่นเป็นเส้น ไปจนถึงการทอ เรียกว่าได้เห็นครบทั้งกระบวนการ หรืออยากจะลองฝึกทอ ก็ทำได้เช่นกัน