วัดสระศรี

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

วัดสระศรี

หากจะแปลชื่อของวัดนี้ตามตัวอักษร ก็คงแปลได้ว่า "สระน้ำที่เป็นมงคล" สมกับที่ตั้งของวัดที่อยู่บนเกาะกลางตระพังขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองโบราณสุโขทัย (ตระพังเป็นภาษาเขมร แปลว่า สระน้ำ) ชื่อ "ตระพังตะกวน" (ตะกวนเป็นภาษาเขมร แปลว่า ผักบุ้ง) และบนเกาะวัดนี้ยังมีตระพังอีกแห่งหนึ่งถูกขุดไว้ด้วย นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็น "ตระพังโพยสี" ตามที่ปรากฏข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีตระพังโพยสี ใสกินดีดังกินน้ำโขงเมื่อแล้ง" การขุดสระซ้อนอยู่ในสระเช่นนี้ อาจเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งในการกรองน้ำให้สะอาดมาก จน "ใสกินดี" อย่างที่จารึกว่าไว้นั่นเอง แต่คนเก่าแก่ในพื้นที่เมืองโบราณสุโขทัย มีที่มาของชื่อที่น่าสนใจยิ่งกว่านี้... ชื่อ "สระศรี" ที่จริงแล้วเพี้ยนมาจากภาษาท้องถิ่นสุโขทัยว่า "สระสี่" (ออกเสียงด้วยสำเนียงสุโขทัยว่า "ซะ-สี") หมายถึง "สระ 4 สระ" นั่นเพราะในสมัยก่อนถนนจรดวิถีถ่องซึ่งตัดตรงจากสุโขทัยมุ่งหน้าไปจังหวัดตากนั้น เคยแล่นผ่ากลางเมืองโบราณสุโขทัยและผ่านเข้าสู่วัดนี้ แยกตระพังสองตระพังที่ซ้อนกันอยู่จนกลายเป็นตระพัง 4 แห่ง ต่อมาเมื่อจะพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยเป็นอุทยานประวัติศาสตร์และประกาศเป็นมรดกโลก จึงต้องย้ายถนนจรดวิถีถ่องบริเวณนี้ขยับขึ้นไปทางเหนือ กลายเป็นถนนที่เลียบริมตระพังตะกวนเช่นในปัจจุบัน การย้ายถนนคราวนั้นเองทำให้พบศิลาจารึกหลักสำคัญหลักหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ศิลาจารึกลักษณะโจร หรือศิลาจารึกวัดสระศรี" การแสดงแสงเสียงเล่าเรื่องเมืองสุโขทัย ทุกวันศุกร์แรกของทุกเดือน จะมีการแสดงแสงเสียงเล่าเรื่องเมืองสุโขทัยโดยวิทยาลัยนาฏศิลปะสุโขทัย โดยใช้เกาะใหญ่ของวัดสระศรีเป็นฉาก เริ่มเวลาประมาณ 19.30 น. แต่ผู้ชมควรไปถึงก่อนอย่างน้อย 30 นาที เพราะจัดสถานที่นั่งชมไว้ที่เกาะพระอุโบสถ ซึ่งต้องเดินผ่านเกาะใหญ่ หากไปช้าอาจทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ที่นั่งชมได้ ชมฟรี สิ่งที่ต้องห้ามพลาด - เจดีย์ทรงลังกา - องค์พระประธานและพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย - อุโบสกกลางน้ำ - เจดีย์ขนาดเล็ก ศิลปะศรีวิชัยผสมลังกา - เจดีย์ทรงระฆัง สถาปัตยกรรมประธานของวัด มีการค้นพบเจดีย์ทรงระฆังจำลอง (หมายถึงขนาดเล็ก) ทำด้วยสำริดภายในเจดีย์ประธาน พร้อมกับกรวยโลหะซึ่งสันนิษฐานว่าอาจไว้ใช้ครอบวัตถุอื่น เช่น พระพุทธรูปหรือดอกไม้ และพบจารึกลานทองระบุว่าพระสังฆราชองค์หนึ่งทรงสร้างของเหล่านี้ไว้เพื่อบรรจุอัฐิพระมหาธรรมราชา สันนิษฐานว่าหมายถึง พระญาลิไท ด้านหน้าเจดีย์เป็นวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปูนปั้นปางมารวิชัย - เจดีย์ทรงระฆังแบบมีซุ้มจระณัมทั้ง 4 ทิศ ซึ่งพบเพียงไม่กี่แห่งในเมืองนี้ - ตระพังโพยสี บนเกาะวัด ซึ่งเป็นสระน้ำที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกทัพมายังเมืองสุโขทัยนั้น โปรดให้ตักน้ำจากตระพังโพยสีไปเสกเป็นน้ำศักดิ์สิทธ์พระราชทานแก่ทหารในกองทัพดื่มกินเป็นสวัสดิมงคล - พระพุทธรูปลีลาจำลอง ประดิษฐานอยู่กลางสนามด้านหน้าเจดีย์ ทรงระฆังแบบมีซุ้ม จำลองมาจากพระพุทธรูปลีลาสมัยสุโขทัย ซึ่งได้รับการยกย่องว่างามที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระระเบียงคดวัดเบญจมบพิธดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเล่ากันว่าค้นพบในวัดนี้ - พระอุโบสถกลางน้ำ ตั้งอยู่บนเกาะขนาดเล็กอีกเกาะหนึ่ง ด้านทิศตะวันออกของเกาะใหญ่ แสดงให้เห็นความเชื่อเรื่องการใช้น้ำเป็นเครื่องกำหนดเขตพระอุโบสถ เรียกว่า "อุทกสีมาหรืออุทกเขปสีมา" - มุมถ่ายภาพที่งามที่สุดของวัดสระศรี หากต้องการถ่ายภาพวัดสระศรีในมุมที่งามที่สุด ไม่ควรพลาดไปถ่ายภาพที่ "ท่าน้ำรับเสด็จ" บริเวณด้านข้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งจะมองเห็นวัดสระศรีตั้งตระหง่านงดงามอยู่กลางผืนน้ำ มีทิวเขาเป็นฉากหลัง โดยเฉพาะในช่วงพระอาทิตย์ตกซึ่งจะมองเห็นดวงอาทิตย์ค่อยๆลับเหลี่ยมเขาหายไป และในฤดูร้อน ราวเดือนมีนาคม – เมษายน หากทัศนวิสัยดี อาจะทันเก็บภาพดวงอาทิตย์สีแดงส้มสุกใสลอยอยู่บนยอดพระเจดีย์ประธานพอดีด้วยก็เป็นได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_wat_sa_si.php

รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ จันทร์–ศุกร์ เวลา 06.00-17.00 น. เสาร์–อาทิตย์ เวลา 06.00-21.00 น.
เบอร์โทร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร โทร. 055-697-241
ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท/คน , ต่างชาติ 100 บาท/คน
เว็บไซต์
ที่อยู่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210