วัดชนะสงคราม

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

วัดชนะสงคราม

มีตำนานเล่าถึงที่มาของชื่อวัดว่า ถูกสร้างขึ้นเพื่อฉลองชัยชนะที่เมืองสุโขทัยมีต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (สันนิษฐานว่าเมืองนี้ตั้งอยู่เลยจังหวัดตากออกไป อาจเป็นอำเภอแม่สอดหรือเมืองโบราณในเขตประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นได้) ซึ่งยกทัพมารุกรานเมืองตาก พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงทรงยกทัพไปปราบปราม แต่ขณะที่กำลังชนช้างอยู่นั้นทรงเสียที พระราชโอรสองค์หนึ่งพระชนมายุ 19 ปี จึงขับช้างเข้าไปช่วยและทรงขับไล่ขุนสามชนไปได้สำเร็จ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงสถาปนาพระราชโอรสองค์นั้นขึ้นเป็น "พระรามคำแหง" หรือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในเวลาต่อมานั่นเอง สิ่งที่ต้องห้ามพลาด 1. เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ 2. เจดีย์ประธานทรงระฆัง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของบรรดาเจดีย์ทรงเดียวกันนี้ในเมืองโบราณสุโขทัย เชื่อว่าได้แบบอย่างการสร้างมาจากศรีลังกา บางครั้งจึงเรียกว่า "ทรงลังกา" ซึ่งส่งต่ออิทธิพลทางด้านรูปแบบให้กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีวิหารหลวงซึ่งเหลือเพียงฐานและเสาศิลาแลง วิหารหลวงแห่งนี้เคยเป็นสถานที่รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเมืองสุโขทัยครั้งสุดท้ายพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเบิกพระเนตรพระพุทธสิริมารวิชัย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2535 3. เจดีย์ทรงศิขระหรือทรงวิมาน มีสององค์ขนาบอยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ซึ่งพบเพียงสามองค์ในเมืองโบราณสุโขทัย อีกองค์หนึ่งอยู่ที่วัดตะพังเงิน 4. อุโบสถ อยู่ด้านหลังเยื้องไปทางด้านขวาของเจดีย์ประธาน เหลือเพียงฐานและเสารอบๆ อาคารยังพบใบเสมาหินซึ่งใช้เป็นเครื่องกำหนดเขตพระอุโบสถอยู่ด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_wat_chana_songkhram.php

รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ จันทร์–ศุกร์ เวลา 06.00-17.00 น. , เสาร์–อาทิตย์ เวลา 06.00-21.00 น.
เบอร์โทร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร โทร. 055-697-241
ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท/คน , ต่างชาติ 100 บาท/คน
เว็บไซต์
ที่อยู่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210