วัดเชตุพน

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

วัดเชตุพน

หนังสือ "เที่ยวเมืองพระร่วง" พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือ รัชกาลที่ 6) แสดงว่าทรงทราบชื่อวัดมาจากผู้ชำนาญเส้นทาง เชื่อว่าเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่เดิม อย่างไรก็ตามมีการค้นพบชื่อ วัดเชตุพน ในจารึกหลายหลัก เช่น จารึกวัดสรศักดิ์ จารึกที่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอินทาราม ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร และจารึกบนแท่งหินชนวนปลายแหลม จำหลักรูปพระพุทธรูปและตัวอักษร ซึ่งพบที่วัดนี้ มีเนื้อความโดยสรุปว่า พุทธศักราช 2057 เจ้าธรรมรังสีภิกษุ ผู้บวชได้ 22 พรรษาได้สร้างพระพุทธรูปอันงดงาม ประดิษฐานไว้ให้คนกราบไหว้ ระบุความตอนท้ายว่า "หินนี้ท่านเอาแต่เขาพระขพงหลวงมาแล" ตรงกับที่พบแหล่งสกัดหินชนวนที่ภูเขาหลังเมืองสุโขทัย ที่อาจเป็น "เขาพระขพงหลวง" ในจารึกก็ได้ จารึกเหล่านี้ทำให้ทราบว่ามีวัดเชตุพนอยู่ในเมืองนี้ และมีความสำคัญอย่างยิ่งด้วย สิ่งที่ทำให้วัดเชตุพนยิ่งใหญ่และควรจะไปชมให้ได้ คือภูมิปัญญาในการใช้หินชนวน ซึ่งเป็นหินแปรชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติคือมีสีสวยงาม เนื้อมันเงา แกร่งในระดับหนึ่งแต่สามารถจำหลักลวดลายได้ คนในสมัยสุโขทัยนิยมตัดมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำแผ่นจารึก ทำแผ่นส้วม ทำกระเบื้องปูพื้น แต่ไม่มีที่ใดที่นำหินชนวนขนาดใหญ่มาใช้ตกแต่งมากมายเท่าวัดเชตุพนแห่งนี้ ซึ่งใช้หินชนวนมาปูพื้น ทำระเบียง และซุ้มประตู โดยเลียนแบบเครื่องไม้ด้วยกรรมวิธีสอดสลักอย่างสวยงาม สิ่งที่ต้องห้ามพลาด 1. พระพุทธรูปสี่อิริยาบท นั่ง นอน ยืน เดิน 2. กำแพงแก้ว 3. สถาปัตยกรรมหลักของวัดคือ มณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน และเดิน ด้านละ 1 องค์ ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งปัจจุบันหลังคาและผนังมณฑปไม่เหลืออยู่แล้ว พระพุทธรูปยืนด้านทิศตะวันตก ซึ่งหักพังเหลือเพียงส่วนพระองค์ สามารถสังเกตแกนไม้ที่สดไว้ในพระกร เพื่อทำให้ยื่นพระกรออกมาด้านหน้าได้อย่างชัดเจน ด้านหน้ามณฑปมีวิหารซึ่งเหลือเพียงฐานและเสา 4. มณฑปประดิษฐานพระพุทธรูป ก่อด้วยอิฐ ทรงย่อมุมยี่สิบ ค่อนข้างสมบูรณ์ซึ่งเหลือเพียงไม่กี่แห่งในสุโขทัย ซุ้ม กรอบประตู และเพดานทำด้วยหินชนวน ที่เพดานยังมีร่องรอยว่าเคยเขียนภาพจิตรกรรมไว้แต่ลบเลือนจนดูไม่ออกแล้ว พระพุทธรูปที่ประดิษฐานในมณฑปก็ปรักพัง ซุ้มกรอบทางด้านหลังมณฑปมีจิตรกรรมเขียนสีรูปดอกพุดตานในช่องกระจกหลงเหลืออยู่เล็กน้อย ถือเป็นจิตรกรรมหนึ่งในสามแห่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเมืองโบราณสุโขทัย 5. โพธิฆระ หมายถึงที่สำหรับปลูกต้นโพธิ์ อยู่ด้านหลังถัดจากมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูป เหลือเพียงส่วนฐานก่อด้วยหินชนวน 6. สถาปัตยกรรมหินชนวน ทั้งซุ้มประตู พื้น ระเบียง สะพาน ซึ่งมีขนาดใหญ่และแสดงถึงภูมิปัญญาในการก่อสร้างของคนในสมัยสุโขทัย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_wat_chetuphon.php

รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 -17.00 น.
เบอร์โทร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร โทร. 055-697-241
ค่าเข้าชม ไม่มี
เว็บไซต์
ที่อยู่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210