วัดสรศักดิ์

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

วัดสรศักดิ์

หากจะใช้คำว่า "จิ๋วแต่แจ๋ว" อธิบายคุณค่าของวัดนี้ก็คงไม่ผิดนัก เพราะวัดสรศักดิ์มีขนาดเล็กมากจนนักท่องเที่ยวมักมองข้ามไป แต่หากลองแวะมาชม และศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจึงจะพบว่าเป็นวัดที่ไม่ธรรมดาเลย เจดีย์ประธานของวัดเป็นทรงระฆังซึ่งมีประติมากรรมช้าง 24 เชือกประดับอยู่โดยรอบ ทุกเชือกมีเพียงครึ่งตัวด้านหน้า สันนิษฐานว่าช่างพยายามสื่อความหมายว่าช้างกำลังแบกเทินพระเจดีย์เอาไว้บนหลัง เป็นสัญลักษณ์ของการเชิดชูพระพุทธศาสนา และอาจเกี่ยวข้องกับคติแบบอินเดียและศรีลังกาโบราณ ที่เชื่อว่าโลกตั้งอยู่บนหลังช้าง ในขณะที่นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะมองว่าเจดีย์ที่มีช้างครึ่งตัวล้อมรอบอยู่นี้ พบอยู่ที่สถูปรุวันเวลิ ในศรีลังกา เรียกว่า "หัตถีปราการ" ซึ่งกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงสร้างไว้เป็นอนุสรณ์แห่งช้างที่เป็นพาหนะในการรบอันเกรียงไกรของพระองค์ ดังนั้น เจดีย์ช้างล้อมจึงอาจแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางศิลปกรรมและความเชื่อระหว่างสุโขทัยกับศรีลังกาได้ด้วย ใกล้ๆ กับวัดสรศักดิ์มีตระพังขนาดใหญ่ ชื่อตระพังสอ ที่มุมของตระพังด้านที่ใกล้กับวัดที่สุดเป็นจุดที่มีการค้นพบศิลาจารึก มีเนื้อหาโดยสรุปเล่าเรื่องของนายอินทสรศักดิ์ ซึ่งขอพระราชทานที่ดินขนาด 44x39 วา ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของตน จากออกญาธรรมราชาผู้ครองเมืองสุโขทัย เพื่อสร้างวัดเมื่อ พุทธศักราช 1960 เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถรธรรมไตรโลก หลังจากนั้นมีเจ้านายหลายพระองค์มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดนี้ โดยประทับที่พระตำหนักหัวสนามเก่าด้านทิศตะวันตกของวัด สะท้อนให้เห็นประเพณีหลายอย่างในเวลานั้น เช่น ความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในอาณาจักร การสร้างวัดต้องขอพระราชทานที่ดิน แม้จะเป็นที่ดินที่เจ้าของได้สร้างบ้านเรือนอยู่ก็ตาม เชื่อว่าวัดที่สร้างในคราวนั้นก็คือวัดแห่งนี้ จึงเรียกชื่อวัดว่า "วัดสรศักดิ์" สิ่งที่ต้องห้ามพลาด 1. เจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกา ที่มีช้างรอบฐาน 2. เจดีย์ประธานทรงระฆังมีช้างล้อม แต่เดิมเจดีย์นี้มีส่วนยอดพังทลายลงและช้างไม่สมบูรณ์อยู่หลายเชือก กรมศิลปากรบูรณะให้งดงามในสมัยหลัง ด้านหน้ามีวิหารหลวงอยู่ด้วย 3. "พระตำหนักหัวสนามเก่า" ด้านทิศตะวันตกของวัด เป็นศาลตาผาแดงและที่ว่างซึ่งมีดงไม้อยู่ สันนิษฐานว่าคือบริเวณ "พระตำหนักหัวสนามเก่า" ที่ประทับของเจ้านายในสมัยโบราณ ยังปรากฏฐานอาคาร คูน้ำ และบ่อน้ำบาดาลอยู่ด้วย ดังนั้นบริเวณทิศใต้ คือที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น อาจเคยเป็น "สนาม" ของเมือง คล้ายกับสนามหลวงในกรุงเทพมหานครนั่นเอง 4. จารึกวัดสรศักดิ์ จัดแสดงที่ชั้นล่างของอาคารจัดแสดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สลักขึ้นจากหินชนวน รูปทรงใบเสมา ด้านหนึ่งเป็นตัวอักษรจำนวน 35 บรรทัดบอกเล่าประวัติของวัด อีกด้านหนึ่งเป็นภาพสลักลายเส้นพระพุทธรูปลีลา พระสาวก และเทวดา ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_wat_sorasak.php

รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา หลังเวลานี้) วัดสรศักดิ์ตั้งอยู่นอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทางทิศเหนือ ใกล้กับศาลตาผาแดง
เบอร์โทร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร โทร. 055-697-527
ค่าเข้าชม ไม่มี
เว็บไซต์
ที่อยู่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210