สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
แต่เดิมเนินปราสาทคงเป็นอาคารไม้ ที่มีฐานก่อด้วยอิฐ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา เมื่อทรุดโทรม เครื่องไม้พังลง บรรดากระเบื้องเหล่านั้นเลื่อนตกลงมาอยู่ด้านข้างอาคาร ทับทมจนกลายเป็นเนินดิน พูนสูงที่สุดในเมืองสุโขทัย จนถึงพุทธศักราช 2376 รัชกาลที่ 4 เมื่อยังผนวชเป็นพระภิกษุ เสด็จมาถึงที่นี่แล้วทรงพบหลักศิลาพร้อมกับแท่นหินที่เชื่อว่าคือพระแท่นมนังศีลาบาตร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงบันทึกเหตุการณ์ในคราวนั้นไว้ในพระนิพนธ์ "อภินิหารการประจักษ์" ว่า ชาวบ้านแถบเมืองโบราณสุโขทัยเชื่อกันว่า บริเวณนั้นเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ และทรงเรียกว่า "เนินปราสาท" ปัจจุบันเนินปราสาทได้รับการขุดแต่งโดยกรมศิลปากร ปรากฏเป็นฐานอาคารก่อด้วยอิฐ พบโบราณวัตถุ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา เครื่องสังคโลก เครื่องถ้วยจีนแบบชิงไป๋ และเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งเก่าแก่เป็นอันดับต้นๆ ของเครื่องถ้วยที่ขุดพบในเมืองสุโขทัย ตอกย้ำว่าเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ดั้งเดิม แต่จะใช้ประโยชน์ในแง่ใดนั้นยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันเชื่อว่าอาจไม่ใช่ปราสาทที่ประทับของกษัตริย์ อาจเป็นสถานที่ประชุมของเมือง เรียกว่า "สันนิบาตศาลา" หรืออาจเป็นศาลาของวัดมหาธาตุเพราะมีคูน้ำล้อมรอบวัดกับเนินปราสาทไว้ด้วยกัน หรือไม่ก็อาจเป็นอโรคยศาลา สำหรับแจกจ่ายยาสมุนไพร เพราะพบหินบดยาในพื้นที่ก็เป็นได้
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_noen_prasat.php