ศาลตาผาแดง

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

ศาลตาผาแดง

โบราณสถานแห่งนี้สร้างจากศิลาแลง แต่ละก้อนมีขนาดใหญ่ เป็นโบราณสถานที่เก่าที่สุดในสุโขทัย เดิมคงมีหลังคาทรงสูง สอบเป็นพุ่ม ซึ่งเรียกอาคารชนิดนี้ว่า "ปรางค์" ยอดของปรางค์แห่งนี้คงสร้างโดยใช้ระบบซ้อนเหลื่อมของก้อนศิลาแลง เพื่อให้ค่อยๆ สอบเข้าหากันเป็นพุ่มตอนบน เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนยอดจึงพังลงมาหมด ภายในอาคารเป็นห้องกว้างเรียกว่า "ครรภคฤหะ" ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ ปัจจุบันกลางห้องยังพบแท่น และส่วนพระบาท (เท้า) ของเทวรูปติดอยู่ อาคารนี้มีมุขยื่นออกไปด้านตะวันออก ทำเป็นบันไดทางขึ้น ด้านทิศตะวันตกมีช่องประตูแต่ไม่มีบันไดและมุข ส่วนด้านเหนือกับด้านใต้ทึบตัน ตกแต่งเป็นประตูหลอกที่ด้านนอก ส่วนฐานของอาคารมีองค์ประกอบที่เรียกว่า "บัวลูกฟัก" ประดับอยู่ และยังมีส่วนฐานที่จมลึกลงไปในดินอีกส่วนหนึ่ง เพราะถูกทับถมมาเป็นเวลานาน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปกรรมขอมอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับโบราณสถานในเมืองโบราณหลายแห่งแถบนี้ ที่ความหมายของชื่อยังไม่สามารถสรุปได้ นักวิชาการหลายท่าน เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานว่าชื่อ "ศาลตาผาแดง" อาจเพี้ยนมาจาก "ศาลพระประแดง" ที่หมายถึง "ศาลเทพารักษ์ประจำเมือง" และทรงเชื่อว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า "กมรเตง หรือ กมรแตง" ที่เป็นศัพท์เขมรโบราณใช้นำหน้าพระนามเทพเจ้า กษัตริย์ หรือขุนนางโบราณด้วย ในขณะที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือ รัชกาลที่ 6) ทรงเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า "ศาลตาผ้าแดง" อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะของอาคารที่เป็นปรางค์เดี่ยว ขนาดไม่ใหญ่มาก ทำให้นักโบราณคดีเชื่อว่าที่นี่อาจแคยเป็น "อโรคยศาล" หรือโรงพยาบาลที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเขมรทรงสร้างขึ้นหลายแห่งทั่วดินแดนที่พระองค์ปกครอง ส่วนที่เป็นสถานพยาบาลคงทำด้วยไม้ซึ่งพังไปหมดแล้ว แต่ปรางค์นี่เป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับขอพรในการรักษาโรค พระบรมเดชานุภาพของกษัตริย์องค์นี้ก็เชื่อว่าแผ่มาถึงสุโขทัยก่อนยุคราชวงศ์พระร่วงด้วย พื้นที่ตำหนักที่ประทับของเจ้านายในสมัยสุโขทัย บริเวณด้านหลังและด้านซ้ายของศาลตาผาแดง มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น แต่หากสังเกตดีดีจะพบว่ามีคูน้ำ ฐานอาคาร และบ่ออิฐสำหรับนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ข้อมูลจากจารึกวัดสรศักดิ์แสดงว่าบริเวณนี้คือ "พระตำหนักหัวสนามเก่า" สิ่งที่ต้องห้ามพลาด 1. ปรางค์เดี่ยวก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 2. ศิลาแลงที่เคยเป็นส่วนยอดของศาลตาผาแดง ด้วยกรมศิลปากรไม่ทราบแน่ชัดว่ายอดของปรางค์แต่เดิมเป็นทรงใดกันแน่ จึงไม่บูรณะศาลแห่งนี้ ด้วยเกรงจะผิดหลักวิชาการ แต่นำศิลาแลงที่เคยพังลงมากองอยู่รอบๆอาคารไปกองรวมกันอยู่ที่โคนต้นไม้ด้านหลังศาล 3. เทวรูป มีการค้นพบเทวรูปหินทรายจากที่นี่ทั้งหมด 5 องค์ เป็นเทวบุรุษขนาดใหญ่ 1 องค์ สันนิษฐานว่าเป็นเทวรูป ประธาน เทวสตรี 2 องค์ และเทวบุรุษขนาดเล็กอีก 2 องค์ ทุกองค์ไม่มีพระเศียร พระกร และพระบาท จึงไม่ทราบว่าเป็นเทพเจ้าองค์ใดแน่ ปัจจุบันถูกนำไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง และ 4 องค์ในจำนวนนี้จัดแสดงอยู่ในอาคารจัดแสดงชั้นล่าง

รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ เปิดบริการทุกวัน แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา หลังเวลานี้)
เบอร์โทร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร โทร. 055-697-241
ค่าเข้าชม -
เว็บไซต์
ที่อยู่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210 (ตั้งอยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยใกล้กับวัดตระกวน)