สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
ชื่อของวัด หมายถึง "ที่อาศัยของพระสงฆ์" ซึ่งมีบริบทน่าสนใจอย่างยิ่งกับโบราณสถานแห่งนี้ เพราะอุโบสถอยู่ห่างจากสิ่งก่อสร้างหลักของวัดอย่างมาก เป็นไปได้ว่าเพราะส่วนที่เป็นกุฏิ เสนาสนะ ที่อาศัยของพระสงฆ์ มีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง ชื่อนี้ปรากฏในศิลาจารึกด้วย แต่ในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือรัชกาลที่ 6) นั้น ทรงเล่าว่าชาวบ้านในแถบนี้เรียกวัดแห่งนี้ตามสำเนียงพื้นถิ่นว่า "สังกะวาด"
ด้านหนึ่งของวัดติดกับแนวคันดินและคลองโบราณซึ่งเรียกกันในปัจจุบันว่า "ถนนพระร่วง" ซึ่งตัดตรงออกจากเมืองสุโขทัย ไปสู่เมืองโบราณศรีสัชนาลัย ส่วนที่ผ่านวัดสังฆาวาสนี้ยังเห็นแนวคันดินชัดเจน เลียบไปกับพื้นที่นาของชาวบ้าน
สิ่งก่อสร้างหลักของวัดซึ่งล้อมรอบด้วยคูน้ำนั้น มีเจดีย์องค์หนึ่งซึ่งพังลงเหลือแต่ส่วนฐาน มีสิ่งประดับคล้ายซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่โดยรอบ ด้านหน้าของเจดีย์ทางด้านทิศตะวันออกมีวิหารขนาดใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนพระองค์แต่พระเศียรและพระกรหักหายไปแล้ว แต่ภาพถ่ายเก่าฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ 6 ยังมีพระเศียรอยู่ ห่างจากสิ่งก่อสร้างหลักมาทางทิศใต้ มีพระอุโบสถซึ่งตั้งอยู่บนเนินริมถนนพระร่วง อาคารเหลือเพียงฐานและเสา แต่สิ่งที่น่าสนใจคือแนวของการปักใบเสมา ซึ่งตามปรกติวัดอื่นๆ จะมีอยู่เพียงแนวเดียว แต่ที่นี่มีถึงสามแนว สามชั้น แต่ละแนวมีใบเสมาหลายจุด จุดละ 2-3 แผ่น มีหลายลวดลายและรูปทรง บางชิ้นก็แตกหักแล้ว ยังไม่มีใครทราบเหตุผลของการมีเสมาสามชั้น แต่เชื่อกันว่าเป็นการพยายามขยายเขตอุโบสถให้กว้างขวางขึ้น
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_wat_sangkhawat.php