สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
โบราณสถานสถานที่ไม่สมบูรณ์ และตั้งอยู่อย่างสงบเงียบริมถนน นอกเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศใต้ ที่ชาวบ้านเรียกนามวัดตามชื่อวัสดุที่ใช้ทำเจดีย์ประธานว่า "วัดก้อนแลง" แห่งนี้ อาจไม่ใช่จุดสนใจของนักท่องเที่ยวทั่วไป แต่สำหรับนักโบราณคดีและผู้สนใจประเด็นทางประวัติศาสตร์ศิลปะแล้ว วัดนี้ถือเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่หาที่ใดเทียบได้ยาก
วัดแห่งนี้มีเจดีย์ประธานสร้างด้วยศิลาแลง แม้ส่วนบนจะหักพังลงมาหมดแล้ว แต่ส่วนที่เหลืออยู่ก็ทำให้ทราบได้ว่าเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม ด้านหน้าเป็นวิหารหลวง มีฐานชุกชีสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่บริเวณโดยรอบพบฐานเจดีย์รายจำนวน 20 องค์ ทำให้ทราบว่าเคยเป็นวัดขนาดใหญ่ เคยมีการค้นพบพระพิมพ์ 2 แบบในวัดนี้ ซึ่งเรียกกันว่าพระร่วงนั่ง ทั้งแบบ "พระอู่ทองผมเปิด" และ "พระอู่ทองผมเวียน" ซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบอู่ทอง ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาคาบเกี่ยวระหว่างกรุงศรีอยุธยายุคต้นและกรุงสุโขทัยยุคปลาย ดังนั้นวัดแห่งนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในช่วงนั้นก็เป็นได้
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากวัดนี้จึงอยู่ที่การได้ทราบว่า คนสุโขทัยโบราณนิยมใช้ศิลาแลงในการสร้างสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย เช่นการสร้างศาลตาผาแดงและวัดพระพายหลวง และใช้กันมาจนช่วงท้ายๆ ของอาณาจักรซึ่งกรุงศรีอยุธยากำลังแผ่อิทธิพลเข้ามาครอบงำดินแดนแถบนี้ ในทำนองเดียวกันก็สะท้อนช่วงเวลาที่นิยมสร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูมอีกด้วย
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_wat_kon_laeng.php