วัดมังกร

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

วัดมังกร

ครั้งหนึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระเชษฐภคินี (พี่สาว) ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เคยเสด็จมาในเขตอรัญญิกหรือเขตวัดป่า นอกกำแพงเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศตะวันตก เพื่อทอดพระเนตร "วัดมังกร" โดยเฉพาะเจาะจง เหตุเพราะวัดนี้มีชื่อเสียงมานานแล้วว่า เป็นวัดโบราณที่ยังหลงเหลือร่องรอยการประดับสังคโลกในส่วนต่างๆ ทั่ววัดไว้ได้อย่างดี ชื่อของวัดมังกร มีที่มาจากการค้นพบเครื่องสังคโลกรูป "มกร" ที่งดงามมาก ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรมในวัด มกรเป็นสัตว์ในจินตนาการ ผสมผสานระหว่างงู จระเข้ สิงห์ ช้าง กว้าง แพะ เป็นต้น เชื่อว่ามกรเป็นสัตว์มงคล สัญลักษณ์ของน้ำและความอุดมสมบูรณ์ เราจึงพบงานศิลปกรรมรูปมกรได้จากหลายวัฒนธรรม เช่น เขมร มอญ อินเดีย พม่า ล้านนา และสุโขทัย เป็นต้น มกรสุโขทัยนิยมทำจากสังคโลก ใช้ประดับที่ราวบันได และส่วนปลายของหลังคา ก่อนจะพัฒนามาเป็นส่วนที่เรียกว่า "หางหงส์" ในยุคต่อมา คำว่า "มกร" นี้ ใช้เป็นชื่อกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่ง มีสัญลักษณ์ทางจักรราศีเป็นรูปมกร ที่บางครั้งทำเป็นสัตว์มีหัวเหมือนแพะ มีท่อนหางเหมือนปลา เรียกช่วงเดือนที่กลุ่มดาวมกรครองพื้นที่บนฟากฟ้ามากที่สุดว่าเดือน "มกราคม" ในสมัยสุโขทัยนิยมประดับอาคารต่างๆ ด้วยเครื่องสังคโลก ที่วัดมังกรแห่งนี้ พบทั้งกระเบื้องมุงหลังคา เครื่องบน ราวบันได และกำแพงแก้ว สิ่งที่ต้องห้ามพลาด 1. เจดีย์ทรงระฆัง ซึ่งส่วนยอดพังทลายลงมาแล้ว ด้านหน้ามีวิหารที่เหลือเพียงฐานและเสา แต่ยังพบร่องรอยการตกแต่งด้วยสังคโลก 2. กำแพงแก้วรอบวัด ทำจากสังคโลกเคลือบสีขาว ตกแต่งเลียนแบบเครื่องไม้ ส่วนที่สมบูรณ์ที่สุดถูกยกไปจัดแสดงใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_wat_mangkon.php

รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ห่างจากบ้านชุมชน ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา)
เบอร์โทร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร โทร. 055-697-527
ค่าเข้าชม -
เว็บไซต์
ที่อยู่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210 (อยู่นอกกำแพงเมืองอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร)