วัดป่ามะม่วง

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

วัดป่ามะม่วง

ในเขตอรัญญิก หรือเขตวัดป่านอกกำแพงเมืองโบราณสุโขทัยทางด้านทิศตะวันตกนั้น อาณาบริเวณที่สำคัญที่สุด เรียกว่า "ป่ามะม่วง" จากชื่อนี้ซึ่งปรากฏในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงนั้น ทำให้เข้าใจว่าแต่เดิมอาจเป็นอุทยานอันร่มรื่น ดังที่ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทยเล่าว่า "เมื่อก่อนที่นี่เป็นราช...พระญารามราชผู้เป็นปู่ปลูกไม้ม่วงฝูงนี้เป็นถ่อง ดูงามแก่กม" ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท มีพระราชหฤทัยใฝ่ในธรรม มีพระราชประสงค์จะผนวชในพระพุทธศาสนา ในปีพุทธศักราช 1905 จึงโปรดให้ปรับปรุงป่ามะม่วงให้งดงาม ใช้เป็นอารามที่ประทับจำพรรษา และที่จำพรรษาของพระอุปัชฌาย์คือสมเด็จพระมหาอุทุมพรบุปผามหาสวามี ซึ่งเสด็จมาจากเมืองนครพันของมอญ ข้อความในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร เล่าว่า "ใช้นายช่างให้ฟังคำสั่ง ปลูกสร้างกุฏิวิหารกลางป่ามะม่วง อันมีโดยทิศปัจจิมของเมืองสุโขทัยนี้ ปราบ (พื้นที่) ให้ราบ ถมทรายให้เสมอ ทำ(ให้)สวยงามทุกทิศ คล้ายพระวิษณุกรรมคิดเนรมิต" จารึกเล่าว่าเมื่อพระญาลิไทออกผนวชนั้น เกิดปาฏิหาริย์อัศจรรย์แผ่นดินไหวเมื่อเหยียบย่างพระบาทลงบนพื้น แสดงถึงพระราชกฤษฎาภินิหารของพระองค์ท่าน ปัจจุบันวัดป่ามะม่วง เป็นโบราณสถานที่ร่มรื่น มีพระอุโบสถที่เหลือเพียงส่วนฐาน ถัดมาทางด้านหลังเป็นเจดีย์ก่ออิฐตั้งอยู่บนลานประทักษิณ มีบันไดทางขึ้น ด้านหลังเจดีย์มีเสาสูง เชื่อว่าเป็นเสาหงส์ สัญลักษณ์ของวัดมอญ ซึ่งเชื่อกันว่าพระสงฆ์ในนิกายนี้มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใส ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Link : http://www.phraruangheritage.com/th/travel_historicalpark_sukhothai_wat_pa_ma_muang.php

รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ห่างจากบ้านชุมชน ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา)
เบอร์โทร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร โทร. 055-697-527
ค่าเข้าชม -
เว็บไซต์
ที่อยู่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210 (อยู่นอกกำแพงเมือง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร)