พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ

ที่จอดรถ

ทางลาด

ห้องน้ำ

ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ทางเดินผู้พิการทางสายตา

ลิฟท์

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องน้ำ

อาหาร

ร้านค้า

ที่จอดรถ

สัตว์เลี้ยง

ผู้สูงอายุ

ผู้ปกครอง

สำหรับเด็ก

*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง

ประวัติความเป็นมา ประวัติการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พ.ศ. 2446 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้ตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี และเสด็จสำรวจเมืองโบราณอู่ทอง ทรงนิพนธ์เล่าเรื่องเมืองอู่ทองในรายงานเสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรีและทรง นิพนธ์หนังสือเรื่องนิทานโบราณคดี พ.ศ.2476 ราชบัณฑิตยสภาได้เริ่มทำการสำรวจทำแผนผังเมืองโบราณอู่ทองโดยสังเขป ซึ่งปรากฏว่าเป็นเมืองโบราณสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแห่งหนึ่ง พ.ศ. 2502 กรมศิลปากรได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ขึ้นเป็นอาคารชั่วคราวเพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่ได้จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองโบราณอู่ทอง พ.ศ. 2504 กรมศิลปากรทำการสำรวจขุดแต่งโบราณสถานที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในเมืองโบราณ อู่ทองเพิ่มเติม พบโบราณวัตถุสมัยทวารดีจำนวนมาก พ.ศ. 2507-2509 ศาตราจารย์ช็อง บวสเซลีเย่ร์ (M.JeanBoisselier) ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ชาวฝรั่งเศส และหัวหน้าหน่วยศิลปากรในขณะนั้น ได้ทำการสำรวจขุดแต่งโบราณสถานในเมืองอู่ทอง และศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีกับเมืองโบราณอู่ทอง พ.ศ.2508-2509 กรมศิลปากรได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองขึ้นเป็นการถาวร เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง แผ่นดินเผาภาพพระภิกษุอุ้มบาตร ศิลปะอินเดียแบบอมราวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-10 (หรือราว 1,600-1,700 ปีมาแล้ว) ลักษณะแผ่นดินเผาภาพภิกษุ 3 องค์ ยืนอุ้มบาตรครองจีวรคลุม จีวรมีลักษณะเป็นริ้ว แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอมราวดีของอินเดีย สันนิษฐานว่าทำขึ้นเพื่อประดับศาสนสถาน **หมายเหตุ ถือเป็นโบราณวัตถุอิธิพลศิลปะอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย ชิ้นส่วนปูนปั้นภาพพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-10 หรือประมาณ 1,600-1,700 ปีมาแล้ว ลักษณะปูนปั้นภาพพระพุทธรูปนาคปรก ชำรุด เหลือเฉพาะส่วนฐาน เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับขัดสมาธิไขว้พระบาทหลวมๆแสดงถึงอิทธิพลศิลปะอมราวดีของอินเดีย พระหัตถ์ทั้งสองวางประสานกันที่พระเพลา ด้านล่างเป็นขนดนาค 3 ชั้นซ้อนกัน แผ่นดินเผารูปเทวดาเหาะ ศิลปะทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 หรือประมาณราว 1,300-1,400 ปีมาแล้ว ลักษณะแผ่นดินเผาทำเป็นภาพนูนต่ำรูปบุคคลเอียงตัวทำท่าเหาะ ยกแขนและขาข้างขวาไปด้านหลัง ขาซ้ายยื่นไปทางด้านหน้า สวมเครื่องประดับศีรษะแสดงถึงความเป็นบุคคลชั้นสูง ซึ่งน่าจะหมายถึงเทวดา มีสายคาดเอวพันรอบตัวโดยขมวดเป็นปม มีแถบผ้าพลิ้วไปทางด้านหลังคล้ายกับศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ปูนปั้นพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ศิลปะทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 หรือราว1,200-1,400 ปีมาแล้ว ลักษณะนิยมเรียกพระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างขึ้นในท่าแสดงธรรม โดยพระอังคุต (นิ้วหัวแม่มือ)และพระดัชนี(นิ้วชี้)จรดกันเป็นวงกลมว่า “ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์” ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ภายหลังจากทรงเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในช่วงเข้าพรรษา(ทั้งนี้คติในการสร้างพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้เดิมคงหมายถึงการแสดงธรรมขอพุทธองค์) พระพุทธรูปองค์นี้ทำด้วยปูนปั้น มีลักษณะพระพักตร์แบบพื้นเมือง ครองจีวรห่มคลุม พระหัตถ์ทั้งสองข้างทำปางแสดงธรรม สันนิษฐานว่าทำขึ้นเพื่อประดับตกแต่งศาสนาสถาน

รีวิว (0 เรตติง)

contact info
เปิดบริการ วันเวลาทำการ : วันพุธ-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.00 -16.00 ปิด : วันจันทร์-วันอังคาร
เบอร์โทร 035-551021
ค่าเข้าชม ค่าธรรมเนียมเข้าชมชาวไทย 30 THB ชาวต่างชาติ 150 THB หมายเหตุ ยกเว้นค่าธรรมเนียม นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ พระภิกษุ สามเณร และนักบวชใน ศาสนา ต่างๆและผู้สูงอายุ เกิน 60 ปี
เว็บไซต์
ที่อยู่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ถนนมาลัยแมน ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72160