สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
เมื่อปี พ.ศ. 2544 ชุมชนตำบลท่าหินได้รวมตัวกันจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ เพื่อจะอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตท้องถิ่นของตนเอง ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์จากวิถีการทำตาลโตนด วิถีการทำนา วิถีการประมง (ชาวเล) จึงเกิดศูนย์การเรียนรู้โหนด-นา-เล ขึ้น "โหนด" มาจากการทำ ตาลโตนด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากตาล เป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน "นา" มาจากการ ทำนา ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการรักษาระบบนิเวศน์ให้ยั่งยืน "เล" มาจาก วิถีชาวเล วิถีประมงสามน้ำในทะเลสาบสงขลา ชุมชนที่นี่มีประมาณ 4,000 กว่าคน ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำวิถีชุมชนทั้งสามแบบ คือ โหนด นา และเล เนื่องจากแต่ละวิถีแต่ละอันมีฤดูกาลการทำที่แตกต่างกัน วิถีโหนด นา เล คือการทำเสนอวิถีชีวิตชาวบ้าน และภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ยึดอาชีพหลักด้วยการทำผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด ทำนา และประมงทะเลสาบ ด้วยความโดดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ได้ถูกผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตเชิงเกษตรที่สืบทอดกันมายาวนานหลายชั่วอายุคน