สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
ชุมชนป่าพรุสวนสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ประกอบด้วย 4 หมู่บ้านที่อยู่รอบป่าพรุ ซึ่งเดิมชื่อว่า “พรุยวนนก” ได้รับพระราชทานชื่อว่า ป่าพรุสวนสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เมื่อปี 2536 พื้นที่ชุ่มน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ เปลี่ยนแปลงเมื่อปี 2505 จากผลกระทบวาตภัยครั้งใหญ่ที่แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เกิดการบุกรุกจนถึงการขายพื้นที่เปลี่ยนมือให้แก่คนภายนอก การจับจองพื้นที่ทับซ้อนกันกลายเป็นความขัดแย้ง และการเกิดไฟไหม้พรุจนป่าดั้งเดิมเสียหาย วิกฤติเหล่านี้นำไปสู่การรวมกลุ่มอนุรักษ์ของชาวบ้าน 4 ชุมชน ขอความร่วมมือและขอคืนพื้นที่ป่าพรุที่คนเหล่านั้นได้จับจองไว้ สามารถขอพื้นที่คืนได้ 2,700 ไร่ รวมทั้งทำข้อตกลงร่วมกันในการอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวไว้ใช้ประโยชน์ด้วยกัน และทำแนวเขตป้องกันการบุกรุกด้วยการขุดแพรกหรือคูล้อมป่าพรุ ขุดสระเก็บน้ำและปล่อยพันธุ์ปลา เป็นทั้งกลยุทธ์การป้องกันไฟไหม้ป่า การฟื้นป่า และฟื้นรายได้ให้แก่ชุมชน เกษตรกรได้อาศัยน้ำจากแพรกใช้ในการปลูกผัก แพรกรอบป่ายังทำหน้าที่เป็นแก้มลิงเก็บน้ำในฤดูฝนซึ่งมีปริมาณน้ำมากจนสามารถใช้เรือตรวจการณ์เข้าไปแล่นได้
ชุมชนป่าพรุสวนสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ หมู่ที่ 2,3,5,7 ตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศ จากการประกวดป่าชุมชนตัวอย่าง โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ปี 2558 โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์เรียนรู้วิถีชุมชนคนกับพรุ สามารถขับรถชมธรรมชาติภายในป่าชุมชนเพื่อเรียนรู้และสัมผัสธรรมชาติของป่าพรุซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา