สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
ปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดและอยู่คู่เมืองพัทลุงมาตลอดสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองพัทลุงในอดีต จนกระทั่งได้มีการยกเลิกพิธีดังกล่าวไป มีการสันนิษฐานว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สำหรับชื่อของ "วัดวัง" นั้น มีที่มา 2 นัยด้วยกัน กล่าวคือ นัยหนึ่งว่าทางทิศใต้ของวัดมีวังน้ำที่ลึกมาก เรียกว่า "หัววัง" จึงเรียกกันว่า วัดวัง ส่วนอีกนัยหนึ่งกล่าวว่า เพราะตั้งอยู่ใกล้กับ "วังเจ้าเมืองพัทลุง" จึงเรียกว่าวัดวังนั่นเอง ปัจจุบันวัดวังยังคงเป็นวัดสำคัญที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาในวาระต่าง ๆ ทั้งยังเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมงามล้ำให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม น่าชม
- พระอุโบสถ อันเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หลังคาทรงไทยมุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา ด้านหน้ามีมุขเด็จยื่นออกมา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและเทพชุมนุม และบริเวณระเบียงคดโดยรอบมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางต่าง ๆ ประดิษฐานเรียงรายทั้งสิ้น 108 องค์
- ธรรมาสน์ จำหลักไม้ลายทองรูปดอกไม้พรรณพฤกษา โดยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อทรงพระราชอุทิศในงานพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2453 - ตู้พระธรรมลายรดน้ำ ซึ่งเก็บรักษาไว้ในกุฏิเจ้าอาวาส ลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยมแบบขาสิงห์ เขียนลายรดน้ำกนกก้านแย่งประกอบลายสัตว์ นับเป็นศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่น่าสนใจยิ่ง
- โอ่งน้ำสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองพัทลุงเมื่อครั้งอดีต