สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
บ้านทุ่งหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ มีอาชีพทำนาเป็นหลัก หลังจากฤดูทำนาชาวบ้านจะนำดินเหนียวที่มีอยู่ในชุมชนมาปั้นด้วยมือเป็นของใช้ต่าง ๆ เช่น กระถาง โอ่งน้ำ หม้อดิน อ่าง ฯลฯ และเมื่อเหลือใช้แล้วหาบไป แลกเปลี่ยนกับของกินของใช้อื่น ๆ กับชุมชนใกล้เคียง เมื่อเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่ต้องการมากขึ้น จึงมีการพัฒนารูปแบบและวิธีการผลิต ปัจจุบันชาวทุ่งหลวงกว่า 200 ครัวเรือนยังคงปั้นเครื่องปั้นดินเผาเพื่อเป็นอาชีพ โดยจะนำดินเหนียวที่ขุดได้ จากที่นาในชุมชนมาแช่น้ำไว้ 1 วันกับ 1 คืน จากนั้นจึงนำดินมานวด โดยในอดีตจะใช้วิธีย่ำด้วยเท้า แต่ปัจจุบันนี้มีเครื่องนวดดินมาช่วยทุ่นแรง เสร็จแล้วจึงนำดินที่นวดเรียบร้อยแล้วมาปั้น โดยวิธีปั้นจะมี 4 วิธี คือการตี การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การหล่อน้ำดิน และการปั้นด้วยมือ เครื่องปั้นดินเผา
บ้านทุ่งหลวงเป็นดินเผาแบบไม่เคลือบ เมื่อเผาแล้วจะมีสีแดง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบจนกลายเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุโขทัยชุมชนทุ่งหลวงเป็นแหล่งรวบรวมและผลิตงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ของสุโขทัย ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมกิจกรรมขึ้นรูปภาชนะ สร้างงานศิลปะจากดินสู่เครื่องปั้นดินเผาได้ เพราะในชุมชนมีความตั้งใจเปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้นักท่องเที่ยวได้มาทดลองทำเครื่องปั้นดินเผาด้วยสองมือของตัวเอง นอกจากนั้นนักท่องเที่ยวยังได้ชมการสาธิตการใช้เตาอุโมงค์ หรือเตามังกรในการเผาเครื่องปั้นต่าง ๆ เพื่อให้เกิดลวดลายที่ชัดเจน งดงาม และมีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน โดยผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ที่นี่ จะได้ผลงานปั้น เป็นที่ระลึกด้วย