สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ
ที่จอดรถ
ทางลาด
ห้องน้ำ
ทางผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
ทางเดินผู้พิการทางสายตา
ลิฟท์
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ
อาหาร
ร้านค้า
ที่จอดรถ
สัตว์เลี้ยง
ผู้สูงอายุ
ผู้ปกครอง
สำหรับเด็ก
*สีเขียว มีบริการ
**สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการปรับปรุงหรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้มาตรฐาน
***สีเทา(สีแดง) หมายถึง ยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ
ประวัติชุมชนตำบลนาซาว ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ขุนเขาและสายน้ำได้แปรเปลี่ยนเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซีย ยุคปัจจุบันดอยภูซางแห่งนี้ได้กลับกลายเป็นตู้กับข้าวประจำหมู่บ้าน เป็นคลังอาหารประจำตำบลของทั้ง 7 หมู่บ้าน จุดเริ่มต้นของผู้คนนาซาวจากเชียงแสนเดินทางมาเพียง 20 ครัวเรือน ทุกวันนี้มีลูกหลานกลายเป็นเกษตรกรผู้ผลิตข้าวชั้นดีให้เมืองน่าน ควบคู่การเล่าขานวิถีชีวิตส่งต่อผ่านเส้นด้ายลายตาโก้งที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนนาซาว ประเพณีและวัฒนธรรม 1. ประเพณีบวงสรวงดอยภูซาง จัดขึ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อเป็นการบวงสรวงดอยภูซางและเป็นกุศโลบายในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางโบราณคดี “เสียมตุ่น” หรือขวานหินโบราณที่พบกระจายอยู่รอบ ๆ ดอยภูซาง โดยเป็นการสร้างความเชื่อไม่ให้นำเครื่องมือหินกะเทาะเหล่านี้ออกไปจากแหล่งที่ขุดค้น เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในขณะเดียวกัน และนักท่องเที่ยวจะได้รับชมการแสดงจากเยาวชนในพื้นที่ พร้อมกับการละเล่นพื้นบ้านของชุมชนนาซาว 2. ประเพณีทำขวัญข้าว เป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งประเพณีสู่ขวัญข้าว จะมีอยู่สองช่วงคือ ช่วงข้าวก่อนตั้งท้องจะเรียกว่า “พิธีแฮกข้าวนา” และช่วงหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวทำการสู่ขวัญข้าว โดยมีความเชื่อว่าเป็นการเรียกขวัญข้าวให้กลับมาอยู่ในยุ้งฉาง 1. กิจกรรมลอดต้นล่อง 2. กิจกรรมเรียนวิถีชาวนา 3. กิจกรรมเรียนรู้การทอผ้าตาโก้ง 4. กิจกรรมสะป๊ะสุ่มไก่อบสมุนไพรบ้านนวราษฎร์ ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลนาซาว 1. ผลิตภัณฑ์ผ้าลายตาโก้ง 2. จักสาน 3. ผ้าทอมือ 4. ข้าวควบ (ข้าวเกรียบว่าว)
5. สมุนไพรแปรรูป