เกี่ยวกับ อพท.

บทบาทหน้าที่ของ อพท.

อพท. ได้รับการจัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยงานในการกำหนดนโยบาย และแผนการบริหารการพัฒนา ในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงการประสานหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คงสภาพแหล่งท่องเที่ยวให้มีความงดงาม สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างความประทับใจ แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศให้ระลึกถึงและกลับมาท่องเที่ยวใหม่ ตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้ง อพท. (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 ได้กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ อพท. ดังนี้

  1. วัตถุประสงค์

    ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อพท. (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562

    (1) ประสานงานการบริหารจัดการท่องเที่ยวระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการการท่องเที่ยว ไม่ว่าในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น

    (2) ประสานงานการใช้อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ผังเมือง สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    (3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    (4) ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

    (5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น

    (6) ส่งเสริมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและการวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและพัฒนากลไกการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาต้นแบบหรือศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว

    (7) ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่แห่งท้องถิ่นให้ดีขึ้น

    (8) ดำเนินการในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว หรือแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติมอบหมายการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ให้มุ่งเน้นไปที่พื้นที่พิเศษหรือตามที่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติมอบหมาย

  2. วัตถุประสงค์

    ตามมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 20 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการและการดำเนินงานขององค์การ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึงมาตรา 20 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการและการดำเนินงานขององค์การ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง

    (1) จัดทำและเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ

    (5) เสนอรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 36 คณะที่ปรึกษาเดิมยังปฏิบัติงานต่อไปได้หรือไม่หรือต้องให้รัฐมนตรีสังกัดใหม่แต่งตั้งใหม่

    มาตรา 16 ได้ยกเลิกความในมาตรา 21 แห่งพราะราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    มาตรา 21 การจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 20(1) จะต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและต้องคำนึงถึงหลักการผังเมืองและสิ่งแวดล้อม มาตรา 21 การจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 20(1) จะต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและต้องคำนึงถึงหลักการผังเมืองและสิ่งแวดล้อม

    มาตรา 24 ให้ยกเลิกความในหมวด 5 การบริหารการพัฒนาในพื้นที่พิเศษมาตรา 35 แห่งพราะราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

    มาตรา 35 เพื่อประโยชน์ในการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษคณะกรรมการมีอำนาจประกาศให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยความยินยอมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ

    ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดแนวทางของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไว้ด้วย

    เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อพื้นที่ใดได้รับการประกาศเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้องค์การบูรณาการการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

  3. คลิกอ่าน พระราชกฤษฏีกาจัดตั้ง อพท. ได้ที่นี่